สวทช. ประกาศรับทุนนักวิจัยแกนนำ ประจำปีงบประมาณ 2559
28/03/2016ประกาศราคากลาง
04/04/2016โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ
“พัฒนาแนวคิดเชิงระบบ (System Thinking) เพื่อความสาเร็จในการพัฒนางานวิจัย
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม ของ มทร.ธัญบุรี”
ระหว่างวันที่ 30-31 มีนาคม 2559
ณ โรงแรม เซอร์เจอส์ ลอดจ์ จังหวัดสระบุรี
สถาบันวิจัยและพัฒนาได้ดาเนินการเชิงรุกเพื่อสร้างความตระหนัก และความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตผลงานวิจัย นวัตกรรม งานสร้างสรรค์และสิ่งประดิษฐ์ มีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้มีผลผลิตด้านงานวิจัย และจานวนนักวิจัยเพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งสาคัญในการเพิ่มเป้าหมายผลผลิตงานวิจัยนั้น เกิดขึ้นได้จากการที่บุคลากรของมหาวิทยาลัยฯทุกภาคส่วน ได้แก่ บุคลากรสายวิชาการ และบุคลากรสายสนับสนุน จะต้องสามารถ สร้างผลงานวิจัยเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมทั้งงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ ให้สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัย
บุคลากรของสถาบันวิจัยและพัฒนา จึงมีหน้าที่ในการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆทั้งภายในมหาวิทยาลัยและภายนอกมหาวิทยาลัย ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นเครือข่ายการวิจัย เพื่อให้สามารถทางานร่วมกันในการสนับสนุนให้มีการผลิตงานวิจัยของมหาวิทยาลัยให้ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สถาบันวิจัยและพัฒนาซึ่งตระหนักถึงการปฏิบัติงานร่วมกันกับหน่วยงานที่ให้บริการงานวิจัย จึงเห็นสมควรจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ“พัฒนาแนวคิดเชิงระบบ (System Thinking) เพื่อความสาเร็จในการพัฒนางานวิจัยยุทธศาสตร์ที่ ๒ : พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม ของ มทร.ธัญบุรี”
ส่วนที่ 1 การบรรยาย
วันพุธ ที่ 30 มีนาคม 2559 เวลา 09.30 – 10.30 บรรยายโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพบูลย์ แย้มเผื่อน ผู้ช่วยอธิการบดี เรื่อง ภาพรวมของแผนพัฒนาเชิงยุทธศาสตร์วาระเร่งด่วนยุทธศาสตร์ ที่ 2 พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมีการกาหนดตัวชี้วัดด้านงานวิจัยที่เข้มข้นขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ให้มหาวิทยาลัยก้าวเข้าสู่ “QS World University Rankings” จากข้อมูลพบว่าในปี 2015-2016 มีมหาวิทยาลัยจานวน 8 มหาวิทยาลัยของไทย ติดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนาของโลก
ส่วนที่ 2 การอภิปราย
วันพุธ ที่ 30 มีนาคม 2559 เวลา 15.00 น. – 17.00 น. และวันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม 2559 เวลา 09.00-12.00 น. อภิปรายโดยวิทยากร 3 ท่านคืออาจารย์สมสิทธิ์ อาจารย์ปฒิชญา มีแสงนิล และอาจารย์สมปอง พุกผาสุก อภิปรายเรื่อง การพัฒนาแนวคิด ด้านการสื่อสาร และแนวทางในการทางานร่วมกันเพื่อไปสู่ความสาเร็จ วิทยากรอภิปรายโดยใช้ Appreciative inquiry in practice (AI) ถือว่าเป็น เครื่องมือพัฒนาองค์กร” ในการค้นหาปัญหา วิเคราะห์ และแก้ปัญหา รวมทั้งการประเมินองค์กรในตัวเดียวกัน
ส่วนที่ 3 แบ่งกลุ่มปฏิบัติ
วันพุธ ที่ 30 มีนาคม 2559 เวลา 1 .00 – 20.00 น. วิทยากรแบ่งกลุ่มจานวน 5 คน 5 กลุ่ม คือ
1. ผศ.ดร.ปกรณ์เกียรติ์ เศวตเมธิกุล
2. ผศ.ดร.เกียรติศักดิ์ แสงประดิษฐ์
3. นางสุทธิศรี ม่วงสวย
4. นางสาวกชกร ดาราพาณิชย์
5. นางสาวคณธวัลย์ ศุภรัตนาภิรักษ์
แบ่งกลุ่มโดยให้แต่ละกลุ่มสะท้อนภาพขององค์กรสมัยเก่าสู่สมัยใหม่ที่มีการพัฒนาความคิดเชิงระบบ