รางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ เครือข่ายวิจัยประชาชื่น ประจำปี 2559
03/03/2016ประมวลภาพโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการงานประจำสู่งานวิจัย (R2R)”
16/03/2016โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ อบรมเชิงปฏิบัติการ
“กล้านวัตกร รุ่นที่ 1: Innovative Thinking แนวคิดเพื่อการต่อยอดผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์”
ระหว่างวันที่ 10-11 มีนาคม 2559
ณ โรงแรม คลาสสิก คามิโอ อยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นหน่วยงานกลางในการประสานและบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ มีหน้าที่หลักในการส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยของบุคลากรด้านการวิจัยบนพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เล็งเห็นถึงความสาคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “กล้านวัตกร รุ่นที่ 1: Innovative Thinking แนวคิดเพื่อการต่อยอดผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์” เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยให้ได้รับความรู้และเกิดแนวคิดเชิงนวัตกรรมในการพัฒนางานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และงานสร้างสรรค์ของตนเอง จนสามารถนาไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ เนื้อหาการอบรมประกอบไปด้วยหลักสูตรสาหรับนักวิจัยโดยเฉพาะ จากคณะวิทยากรมืออาชีพของ สานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาแนวคิดเชิงนวัตกรรมและการสร้างนวัตกร ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการต่อยอดผลงานเชิงพาณิชย์และยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและชุมชนของประเทศให้ดาเนินไปอย่างยั่งยืน
เปิดการอบรมด้วยการบรรยายพิเศษ จาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไพบูลย์ แย้มเผื่อน ผู้ช่วยอธิการบดี เรื่อง แผนและนโยบายการสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาของ มทร.ธัญบุรี เพื่อสร้างแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมในการผลักดันเป้าหมาย
ของมหาวิทยาลัยร่วมกัน ต่อมาเป็นการบรรยายในหัวข้อ 4 Processes R4i : research for innovation by NIA จาก ทีมวิทยากรจาก สนช. จานวน 3 ท่าน เพื่อปรับความรู้พื้นฐานด้านนวัตกรรมของผู้เข้าร่วมให้อยู่ในระดับเดียวกัน และแนะนาช่องทางการให้การสนับสนุนของ สนช. ต่อด้วยกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแบบแบ่งกลุ่ม จานวน 6 กลุ่ม จากผู้เข้าร่วมคละสังกัดเพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนความรู้ ทักษะ และข้อมูลของตนกับสมาชิกในกลุ่ม และการสร้างเครือข่ายในการพัฒนาผลงานนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ที่เกิดมาจากแนวคิดเชิงนวัตกรรมที่เป็นองค์รวมของภายในกลุ่ม โดยทีมวิทยากรจากสานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ด้วยกระบวนการ SCMP เรียงลาดับตามหัวข้อดังต่อไปนี้
1) Selecting : การเลือกหัวข้อโจทย์วิจัยที่สามารถนาไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้
2) Creating : การคิดพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับงานวิจัยของตัวเองอย่างสร้างสรรค์ทุกมิติ
3) Modeling : การใช้รูปแบบและเครื่องมือต่างๆ ในการทบทวนและตรวจสอบข้อมูลด้านเทคโนโลยี ตลาด การเงิน และการบริการจัดการ
4) Selling (Present) : เทคนิคการนาเสนอนวัตกรรมให้น่าสนใจและดึงดูดนักลงทุน
ทั้งนี้ในช่วงท้ายของการอบรมทางโครงการฯ ได้รับความอนุเคราะห์จาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปกรณ์เกียรติ์ เศวตเมธิกุล และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกียรติศักดิ์ แสงประดิษฐ์ รองผู้อานวยการร่วมเป็น ให้เกรียติรับเชิญมาเป็นวิทยากรอภิปรายเรื่อง แนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนผลงานวิจัยเชิงพาณิชย์ และระบบการให้บริการ ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ธัญบุรี เพื่อประชาสัมพันธ์งานต่าง ๆ ของ สวพ. ที่เกี่ยวข้องแก่นักวิจัยกลุ่มเป้าหมาย