การประชุมการนำเสนอ Concept Proposal เพื่อขอรับทุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) กลุ่มเรื่อง RAINS for Thailand Food Valley
28/09/2020โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ไผ่ ต่อยอดผลงานวิจัยสู่ชุมชน
วันที่ 27 กันยายน 2563
ณ มหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์ ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน
ตำบลห้วยสัก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
สถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ธัญบุรี ได้จัดโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ไผ่ ต่อยอดผลงานวิจัยสู่ชุมชน กิจกรรมฝึกอบรม ศึกษาดูงาน และหารือความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ และการแสดงผลงานองค์ความรู้ไผ่ เพื่อพัฒนาความรู้ศักยภาพของเกษตรกร และส่งเสริมถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องไผ่สู่ชุมชน โดยมหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์ สถาบันการศึกษาทางเลือกในสังกัดมูลนิธิพุทธเศรษฐศาสตร์ นำโดย อธิการบดี/ผู้ก่อตั้ง พระเมธีวชิโรดม ซึ่งนำองค์ความรู้ของโครงการวิจัย นำโดย อธิการบดีมหาวิทยาลัย ผศ.ดร. สมหมาย ผิวสะอาด นำทีมผู้บริหารและทีมวิทยากรคณะผู้วิจัย บรรยายและจัดกิจกรรมฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ไผ่ ต่อยอดงานวิจัยสู่ชุมชน
กิจกรรมในภาคเช้าเป็นการบรรยายโดยทีมวิทยากร นำโดย ผศ.ดร.วารุณี อริยวิริยะนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา บรรยายถึงที่มาขององค์ความรู้ ผลจากการคลี่ภาพห่วงโซ่คุณค่า Network Value Chain นำมาซึ่งการเห็นโจทย์วิจัยที่ตอบกรอบการทำงานของโครงการวิจัย ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ในเรื่องที่เกี่ยวกับการรวบรวมพันธุ์ไผ่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่เพาะปลูก การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไผ่ที่เหมาะสม การแปรรูปไผ่การปรับห่วงโซ่คุณค่าใหม่ของกลุ่มหน่อไม้ดอง การเชื่อมโยงข้อมูลออกมาเป็นชุดคู่มือความรู้ด้านไผ่ของจังหวัดอีกทั้งยังเป็นการขับเคลื่อนการเรียนรู้จากภายในมหาวิทยาลัยสู่ชุมชน นำไปสู่การการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากคณะผู้วิจัยของชุดโครงการวิจัย สำหรับกิจกรรมในภาคบ่าย การจัดฝึกการอบรมองค์ความรู้เรื่องการดองหน่อไม้คุณภาพสูงด้วยน้ำมะพร้าว เป็นหนึ่งในชุดโครงการวิจัยภายใต้โครงการ “การสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มตลอดห่วงโซ่คุณค่าของสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) บนฐานทรัพยากรไผ่จังหวัดปราจีนบุรี” นำทีมโดยนักวิจัย ดร. อารณี โชติโก คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผศ.ดร. ปาลิดา ตั้งอนุรักษ์ คณะเทคโนโลนีการเกษตร และ ดร. ปพนพัชร์ ภัทรฐิติวัสส์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ถ่ายทอดกระบวนการทำหน่อไม้ดองคุณภาพสูงด้วยน้ำมะพร้าว ผลจากงานวิจัยเริ่มต้นจากการคัดเลือกสายพันธุ์โดยเลือกไผ่ตงศรีปราจีนซึ่งผลวิจัยพบว่าเป็นไผ่ที่มีปริมาณไซยาไนด์ต่ำกว่าสายพันธุ์อื่น ปอกล้างทำความสะอาด แล้วหั่นหรือสับเป็นชิ้นตามที่ต้องการ จากนั้นนำไปแช่น้ำและหาช่วงเวลาการแช่น้ำและหาปริมาณเกลือที่เหมาะสม ก่อนเข้าสู่กระบวนการดองสิ่งหนึ่งที่ศึกษาและได้ผลดีคือ หลังแช่เกลือด้วยช่วงเวลาที่เหมาะสมแล้ว ให้บีบน้ำออกให้หมด จากนั้นเติมน้ำมะพร้าวแก่ที่ต้มสุกลงไป และปิดฝาหมัก ซึ่งทำให้ลดระยะเวลาการดองลงจากเดิมต้องใช้เวลา 2 สัปดาห์ถึง 1 เดือน แต่จากการวิจัยด้วยกระบวนการดังกล่าวสามารถลดระยะเวลาการดองเหลือเพียง 3-4 วันเท่านั้น และไม่พบไซยาไนด์หลงเหลือในผลิตภัณฑ์จากหน่อไม้ นอกจากนี้ กรณีไม่มีน้ำมะพร้าวเราสามารถใช้กล้าเชื้อที่คิดค้นโดยอาจารย์ปาลิดา จะช่วยลดระยะเวลาการดองได้เทียบเท่ากับการใช้น้ำมะพร้าวในการดอง คือใช้เวลาในการดอง 3 วัน จากการวิเคราะห์คุณภาพทางประสาทสัมผัส พบว่า ความชอบด้าน ความเปรี้ยว กลิ่น เนื้อสัมผัสและความชอบโดยรวม ไม่แตกต่างกัน
ทั้งนี้ จากการถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชนและประชาชนเพื่อให้เกิดความรู้อย่างกว้างขวางเป็นการนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในรูปธรรมมากยิ่งขี้น นับเป็นภารกิจของมหาวิทยาลัยอีกอย่างหนี่งด้วย อีกทั้งเป็นบทบาทในการบริการวิชาการเพื่อให้ชุมชนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำไปใช้ในชีวิตได้อย่างแท้จริงอีกด้วย อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยกับพระเมธีวชิโรดม (ว.วชิรเมธี) เกี่ยวกับการประชุมเพื่อวางแนวทางในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ที่จัดตั้งขึ้น ณ สุชาดาสิขาลัย ตำบลหนองสามวัง อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ และถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ภายในมหาวิทยาลัยสู่ชุมชน อีกทางหนึ่งด้วย
[supsystic-gallery id=231 position=center]