การประชุมและพิธีลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ระหว่าง มทร.ธัญบุรี กับบริษัท วัน ฟู้ดส์ อินดัสทรีส์ จำกัด และบริษัท วัน คราฟท์ แอนด์ เท็กซ์ไทล์ จำกัด
09/09/2020การวิพากษ์เส้นทางท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ จังหวัดนครนายก โครงการวิจัยแผนงานนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ โดยชุมชนมีส่วนร่วม จังหวัดนครนายก
14/09/2020การประชุมวิชาการ Virtual Conference Transforming University for the Future :
บทบาทใหม่มหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาพื้นที่
วันที่ 9 กันยายน 2563
ณ ห้องวีนัส ชั้น 3 โรงแรมมริาเคิลแกรนด์ กรุงเทพฯ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการ Virtual Conference Transforming University for the Future : บทบาทใหม่มหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ และผ่านระบบออนไลน์แอปพลิเคชั่น Zoom โดยมี ผศ.ดร.วารุณี อริยวิริยะนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัย นำเสนอ Showcase งานวิจัยกับการแก้ปัญหาความยากจนในสังคมไทย เรื่อง ห่วงโซ่อุปทานไผ่กับการแก้ไขปัญหาของเหลือทิ้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทบาทและการปรับตัวของมหาวิทยาลัยในการเป็นโครงสร้างข้อมูลความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่ เพื่อนำเสนอรูปธรรมความสำเร็จเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่โดยมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่ เพื่อรับฟังนโยบายและทิศทางการขับเคลื่อนงานมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่ และเพื่อได้ทราบทิศทางการวิจัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่รองรับวิกฤตการณ์ของประเทศ
ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้รับความร่วมมือระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว. เดิม) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จนเกิดการขับเคลื่อน มหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ 21 มหาวิทยาลัยใน 21 จังหวัด จากงบประมาณที่การร่วมทุนทั้งหมด 102 ล้านบาท มีการสนับสนุนโครงการวิจัยย่อยรายมหาวิทยาลัย ผลงานแสดงถึงการตอบโจทย์ที่สำคัญของพื้นที่ระดับจังหวัด ซึ่งเกิดจากการพัฒนาระบบและกลไกการจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัย ผ่านระบบการหนุนเสริมการจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัย เป็นนวัตกรรมการจัดการ อีกทั้งจากผลการดำเนินงานในครั้งนี้ทำให้เกิด Platform การพัฒนาโครงสร้างความรู้เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาพื้นที่ระดับจังหวัดที่เรียกว่า “มหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ (Area Based University)” จึงถือได้ว่าเกิดผลกระทบในระดับระบบและโครงสร้างของอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประกอบกับเกิดการปฏิรูประบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ที่มีการออกแบบและจัดโครงสร้างใหม่ทั้งระบบอุดมศึกษา และระบบ ววน. จึงทำให้ Platform มหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ นี้เป็นตัวแบบในการขับเคลื่อนได้อย่างเป็นรูปธรรม
[supsystic-gallery id=223 position=center]