
มทร.ธัญบุรี เปิดเวทีจับคู่ธุรกิจ “RMUTT IP & Business Matching” พลิกไอเดียสู่ตลาด สร้างโอกาสสู่อนาคต
24/03/2025
การประชุมคณะกรรมการเครือข่ายวิจัย “ประชาชื่น” ครั้งที่ 2/2568
25/03/2025ในวันที่ 25 มีนาคม 2568 สถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ธัญบุรี จับมือกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA จัดกิจกรรม Road Show “แพลตฟอร์มการส่งเสริมธุรกิจนวัตกรรมที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ” (Mandatory Innovation Business Platform) ปีงบประมาณ 2568 เพื่อสนับสนุนธุรกิจนวัตกรรมสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจด้านพลังงานสะอาด และด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ณ ห้อง M01 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) นำทีมโดย รศ.ดร.อมร ไชยสัตย์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา
โดยภายในกิจกรรม มีการแนะนำบทบาทของ NIA โดย ดร.อำพล อาภาธนากร รองผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เกี่ยวกับกลไก 4 G Strategy ซึ่งประกอบด้วย GROOM, GRANT, GROWTH และ GROBAL ตลอดจนแนะนำกลไกการสนับสนุนด้านการเงิน และการแนะนำหลักเกณฑ์ในการสมัครขอรับทุนโครงการนวัตกรรมแบบมุ่งเป้า สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ และ สาขาพลังงานสะอาด (Circular and Low-Carbon Economy & Clean Energy) โดยนางสาวพิชชารีย์ กีรติธากลุ นักพัฒนานวัตกรรมอาวุโส และนางสาววัลยา วิศาลบรรณวิทย์ นักพัฒนานวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) รวมทั้งมีการนำเสนอบทบาทการทำงานของ สวพ. ร่วมกับ NIA โดย รศ.ดร.อมร ไชยสัตย์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา โดยมีการกล่าวถึงความร่วมมือกับ NIA ในด้านความสำเร็จจากการพัฒนาโครงการทุนโครงการนวัตกรรมแบบมุ่งเป้า สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ และ สาขาพลังงานสะอาด (Circular and Low-Carbon Economy & Clean Energy) ในปี 2567 ที่ผ่าน และกล่าวถึงความร่วมมือของ สวพ. มทร.ธัญบุรี กับโครงการ “สระบุรีแซนด์บล็อก” สำหรับการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ แบบลอยน้ำ 500 kWp อ่างเก็บน้ำคลองเพรียว ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี 1MWp (1 MWp Floating PV System) โดยใช้พลังงานลม โดยมีผู้ประกอบการที่มาเข้าร่วมในกิจกรรมดังกล่าวจำนวนไม่น้อยกว่า 30 ท่าน
กิจกรรมนี้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หลายประการ โดยเฉพาะ
SDG 7: พลังงานสะอาดและเข้าถึงได้: การส่งเสริมธุรกิจนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาด เช่น โครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำ เป็นการสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนและลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิล
SDG 12: การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน: การสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดขยะ และสร้างระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
SDG 13: การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านการใช้พลังงานสะอาดและเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ เป็นส่วนสำคัญในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ