โครงการอบรม การเพิ่มขีดความสามารถนักวิจัยสู่การเป็นนวัตกรเพื่อสร้างนวัตกรรมการออกแบบ ข้อเสนอโครงการวิจัย (Proposal Bank)
15/09/2023โครงการกระจายความรู้สู่ผู้ประกอบการยุคใหม่ ‘From Gen Z to be CEO’ ประจำปี 2566
19/09/2023โครงการการพัฒนานักจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ (Area Based Research Manager)
หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสู่การเป็นนักจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ (ABC Academy)
ภายใต้หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยพะเยา
กรณีเรียนรู้จากพื้นที่ความสำเร็จภาคใต้ (จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดตรัง)
สถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ธัญบุรี นำโดย รศ.ดร.วรินธร พูลศรี รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และบุคลากรสถาบันวิจัยและพัฒนา ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสู่การเป็นนักจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ (ABC Academy) เป็นโครงการที่เป็นความคิดริเริ่มของ ดร.กิตติ สัจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และ สกสว. ที่เห็นความสำคัญกับระบบจัดการงานวิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งการพัฒนานักจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ให้กับมหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่หรือหน่วยงานที่สนใจ เพื่อเป็นกลไกหลักในการสร้างการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ให้เกิดความยั่งยืน โดยเป้าหมายของหลักสูตร ต้องการสร้างนักจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ ให้เกิดทักษะในการจัดการงานวิจัย ใน 3 เรื่อง ได้แก่ 1) ทักษะ Stakeholder Engagement Collaboration คือ การสร้างกลไกกระบวนการความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม ชุมชน ท้องถิ่น รวมทั้งภาควิชาการ 2) ทักษะ Program Initiative คือการพัฒนาแนวความคิดเพื่อริเริ่มดำเนินโครงการที่ตอบสนองความต้องการและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ และ 3) ทักษะ Strategic Communication และ Policy Advocacy คือการวางแผนกลยุทธ์ด้านการสื่อสาร และการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ด้วยการวิจัยและนวัตกรรม
กรณีเรียนรู้จากพื้นที่ความสำเร็จภาคใต้ (จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดตรัง) และภาคเหนือ (จังหวัดพะเยา และจังหวัดเชียงใหม่) นักจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ได้รับความรู้ ความเข้าใจและทักษะการเป็นนักจัดการพื้นที่ที่มีทักษะครอบคลุมถึงความตระหนักรู้ถึงคุณค่านักจัดการ RDI เพื่อชุมชนและพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้หลักสูตรดังกล่าวได้กำหนดกิจกรรม Site visit จำนวน 2 ครั้ง โดยครั้งแรก เป็นการลงพื้นที่ความสำเร็จภาคใต้ (จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดตรัง) ระหว่างวันที่ 3–5 สิงหาคม 2566 เพื่อเรียนรู้ความสำเร็จโครงการวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่โดดเด่นในการทำงานวิจัยที่ได้รับทุนจาก บพท. ภายใต้กรอบ Local Enterprise ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ และครั้งที่สอง เป็นการลงพื้นที่ความสำเร็จภาคเหนือ (จังหวัดพะเยาและจังหวัดเชียงใหม่) ระหว่างวันที่ 14–16 กันยายน 2566 เพื่อเรียนรู้ความสำเร็จโครงการวิจัยของมหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น ภายใต้กรอบการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา การพัฒนาเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และชาญฉลาด (Livable and Smart City)