การประชุมคณะอนุกรรมการงานบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
20/12/2019“มทร.ล้านนา” เปิดโครงการวิจัยเพิ่มมูลค่า OTOP ผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นบ้านอำเภอฮอด
25/12/2019การประชุมความก้าวหน้าผลการดำเนินงานระยะ 12 เดือน
ของโครงการ “การพัฒนาระบบการจัดการเชิงพื้นที่ด้วยการใช้นวัตกรรม :
เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของเสีย
และสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี”
วันที่ 23 ธันวาคม 2562
ณ ห้องประชุมสงค์ธนาพิทักษ์ ชั้น 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ดร.พินิจ บุญเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานเปิดการประชุมความก้าวหน้าผลการดำเนินงานระยะ 12 เดือน ของโครงการ “การพัฒนาระบบการจัดการเชิงพื้นที่ด้วยการใช้นวัตกรรม : เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของเสียและสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี” โดยมี นายวิรัช โหตระไวศยะ รักษาราชการแทน อธิการบดี พร้อมกับ ผศ.ดร.สิริแข พงษ์สวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญมหาวิทยาลัย เป็นผู้กล่าวต้อนรับ สำหรับ การประชุมความก้าวหน้าผลการดำเนินงานระยะ 12 เดือน ของโครงการ “การพัฒนาระบบการจัดการเชิงพื้นที่ด้วยการใช้นวัตกรรม : เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของเสียและสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี” เป็นการประชุมเพื่อสร้างนวัตกรรมสำหรับการแก้ปัญหาการบริหารจัดการของเสียโดยการพัฒนาจากโจทย์ของชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี พร้อมทั้งตอบสนองนโยบายการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0 (Productitive) และสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพด้านการแข่งขันให้เขตชุมชนในเขตพื้นที่ จังหวัดปทุมธานี (Innovation-oriented) อีกทั้งยังเป็นการสร้างนักวิจัยใหม่ และกลุ่มวิจัยที่ทำงานวิจัยแบบมุ้งเป้าเพื่อนำไปใช้งานตามโจทย์ของชุมชนและอุตสาหกรรม
ด้าน ดร.พินิจ บุญเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เปิดเผยว่า สำหรับนวัตกรรมที่ผ่านกระบวนการ ของการพัฒนาระบบการจัดการเชิงพื้นที่ด้วยการใช้นวัตกรรม มีหลายหลายผลงานที่ ทางจังหวัดปทุมธานี ให้ความสนใจ อาทิ ไส้เดือนสีน้ำเงิน Blue worm ซึ่งเป็นไส้เดือนที่มีความสามารถในการขยายพันธุ์เร็ว ในการกำจัดขยะอินทรีย์ ผลิตปุ๋ยหมัก
เหมาะสมกับการนำไปต่อยอดเพื่อกำจัดขยะจากตลาดสดในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี หรือ การพัฒนาเส้นใยกล้วยเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายและเคหะสิ่งทอ โดยจังหวัดปทุมธานีได้มีความสนใจที่จะพัฒนาเส้นใยธรรมชาติโดยเลือกกล้วยซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดปทุมธานี และหาได้ไม่ยากในท้องถิ่น จึงสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกลุ่มทางการเกษตร นำวัสดุเหลือใช้ ในพื้นที่มาแปรรูปเป็นพลังงานทดแทน หรือมาแปรรูปผลิตเป็นสินค้าผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นซึ่งอาจต่อยอดเป็นสินค้ามาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และสินค้า OTOP สร้างรายได้ในอนาคต ส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนมีอาชีพและรายได้เพิ่มขึ้น สร้างมูลค่าเพิ่มจากต้นกล้วย พัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดปทุมธานี
ทั้งนี้ ทางสถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ธัญบุรี นำโดย ผศ.ดร.วารุณี อริยวิริยะนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมคณะผู้บริหาร ได้แก่ ผศ.ดร.เกียรติศักดิ์ แสงประดิษฐ์ และ ดร.ไฉน น้อยแสง รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และทีมงาน สวพ. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการประชุมความก้าวหน้าผลการดำเนินงานระยะ 12 เดือน ของโครงการ “การพัฒนาระบบการจัดการเชิงพื้นที่ด้วยการใช้นวัตกรรม : เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของเสียและสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี” และนำทีมนักวิจัยที่ร่วมโครงการทั้งสิ้น 17 โครงการ กล่าวรายงานความก้าวหน้าระยะ 12 เดือน ต่อผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภายนอก เพื่อชี้แนะแนวทางการพัฒนาโครงการต่อไป
[supsystic-gallery id=171 position=center]