การประชุมถอดบทเรียนและการวิเคราะห์ SWOT จากการดำเนินโครงการบริการวิชาการแก่สังคม (ระดับสถาบัน) ประจำปี 2562
08/07/2019การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาคุณภาพข้อเสนอโครงการวิจัย ครั้งที่ 1”
11/07/2019การประชุมคณะกรรมการกำกับทิศทางและติดตามแผนงานวิจัย
ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง เครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 8 แห่ง
และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
เรื่อง “การพัฒนาและสนับสนุนชุดโครงการวิจัยที่มีผลกระทบสูงเพื่อสร้างนวัตกรรม
และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ
โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)” ครั้งที่ 3
ระหว่างวันที่ 8-9 กรกฎาคม 2562
ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพมหานคร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการกำกับทิศทางและติดตามแผนงานวิจัย ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง เครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 8 แห่ง และ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เรื่อง “การพัฒนาและสนับสนุนชุดโครงการวิจัยที่มีผลกระทบสูงเพื่อสร้างนวัตกรรมและ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)” ครั้งที่ 3 โดยมอบให้ทางสถาบันวิจัยและพัฒนา นำโดย ผศ.ดร.วารุณี อริยวิริยะนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นผู้นำทีมนักวิจัยชุดโครงการวิจัยที่มีผลกระทบสูง เรื่อง “การสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มตลอดห่วงโซ่คุณค่าของสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) บนฐานทรัพยากรไผ่จังหวัดปราจีนบุรี” เพื่อนำเสนอรายงานผลการดำเนินงานระยะ 10 เดือน โดยมี ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกสว. เป็นประธาน และคณะกรรมการฯ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนอธิการบดี มทร.ธัญบุรี ผศ.ดร.มโน สุวรรณคำ ผู้ช่วยอธิการบดี คุณอภิชาติ โตดิลกเวชช์ กระทรวงมหาดไทย คุณนที ขลิบทอง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ผู้แทนจาก ธ.ก.ส. ผู้แทนกรมการพัฒนาการชุมชน และผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ผ ศ.ดร.บัณฑิต อินณวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์กลางนวัตกรรมอาหาร แห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร และคุณเบญจมาศ ตีระมาศวณิช ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาการวิจัยพื้นที่
ภาพรวมคณะกรรมการฯ ให้ความเห็นว่าผลงานโดยรวมของมหาวิทยาลัยมีความก้าวหน้าตามแผน มีการสร้างฐานข้อมูลสนับสนุนการทำงานทั้งระบบเพื่อวางโครงการทำต่อได้ในอนาคต มีการดึงภาคีผู้เชี่ยวชาญ ปราชญ์ชุมชน หน่วยงานท้องถิ่น องค์กรมหาชน โดยเน้นการเชื่อมต่อการทำงานตั้งแต่ผู้ผลิตต้นน้ำ และผู้ประกอบการที่มีแนวคิดช่วยเหลือสังคม
ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) บนฐานทรัพยากรไผ่เพื่อจะนำไปสู่เป้าหมายการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและขับเคลื่อน OTOP จากการสร้างอัตลักษณ์ด้วยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco material & Eco design) บนฐานทรัพยากรพื้นถิ่น ผ่านการมุ่งมั่นเดินหน้าด้วยยุทธศาสตร์ไผ่จังหวัดปราจีนบุรีให้ชุมชนเข้มแข็งและยั่งยืนด้วยการใช้วิจัยและนวัตกรรม
ทั้งนี้ ผลงานวิจัยที่คณะนักวิจัยยังได้ร่วมจัดแสดงในเวทีนำเสนอผลการดำเนินงานครั้งนี้ เป็นผลงานของนักวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ประกอบด้วยตัวอย่างวัสดุผสมจากไผ่เหลือทิ้ง แบบอาคารประเภทรีสอร์ทที่มีคุณค่าอัตลักษณ์ รวมทั้งหลากหลายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากถ่านไผ่ชาร์โคลของ Key user สำคัญ และต่อเนื่องอีกวันด้วยเวที Reflection พร้อมการยกระดับข้อมูล Network value chain สู่การทำ Business plan และกลไกขับเคลื่อน Chain ในระยะต่อไป
[supsystic-gallery id=122 position=center]