ประกาศราคากลาง
01/06/2016โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร” กิจกรรมที่ 1
11/06/2016โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร”
กิจกรรมที่ 1: ภาคบรรยาย (สายวิทยาศาสตร์)
วันที่ 8 มิถุนายน 2559
ณ ห้องประชุมปทุมธัญญา ชั้น 5 อาคารคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
สถาบันวิจัยและพัฒนา ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางในการประสานและบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่บุคลากรด้านการวิจัยในการพัฒนาและเพิ่มพูนศักยภาพในการเขียนบทความวิชาการและผลงานวิจัย เพื่อเพิ่มผลผลิตการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ ทั้งสายสังคมศาสตร์และสายวิทยาศาสตร์ ที่ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลสากล เช่น ISI / Scopus / PubMed และฐานข้อมูลระดับชาติ (TCI) โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ของอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญและผลิตบทความวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติมาอย่างต่อเนื่อง โดยทางสถาบันฯ หวังว่าโครงการนี้จะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยเพิ่มจานวนผลงานการตีพิมพ์บทความทางด้านวิชาการของมหาวิทยาลัยฯ อันจะเป็นการพัฒนามาตรฐานการวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
กิจกรรมที่ 1 : ภาคบรรยายวันที่ 8-9 มิถุนายน 2559
เป็นกิจกรรมรับฟังการบรรยายผ่านประสบการณ์ตรงจากวิทยากรนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ เพิ่มพูนทักษะ และเทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ลงในวารสารระดับชาติและนานาชาติ
วันที่ 8 มิถุนายน 2559 (สายวิทยาศาสตร์)
ช่วงเช้า : เป็นการบรรยาย เรื่อง เทคนิคและแนวทางสู่ความสาเร็จในการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ที่อยู่ในฐานข้อมูลสากลซึ่งจะเน้นเกี่ยวกับขั้นตอนและกระบวนการในการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ลงในวารสารระดับนานาชาติ ผ่านประสบการณ์ของวิทยากร ที่สามารถประสบความสาเร็จในเรื่องดังกล่าว เพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจผ่านการเล่าเรื่องราวที่เป็นกันเอง โดย ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ช่วงบ่าย (1) : เป็นการบรรยาย เรื่อง เทคนิคและการเตรียมตัวอย่างไรก่อนส่งบทความไปตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ที่อยู่ในฐานข้อมูลสากลที่มีImpact/Quartile สูงซึ่งเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกสานักพิมพ์ การเตรียมตัวก่อนส่งบทความไปตีพิมพ์ ผ่านประสบการณ์ของวิทยากรที่สามารถประสบความสาเร็จในเรื่องดังกล่าว เพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจผ่านการเล่าเรื่องราวที่เป็นกันเอง โดย รศ.ดร.วุฒิชัย เอื้อวิทยาศุภร คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
ช่วงบ่าย (2) : เป็นการบรรยาย เรื่อง เทคนิคการเลือกวารสารและการนาเสนอผลงานทางวิชาการ เพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ และไม่ติด Beall’s List: Predatory open-access Publisher’s แสดงถึงหลักการเลือกวารสารที่เป็นประโยชน์ต่อนักวิจัย เครื่องมือในการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของวารสาร จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในเรื่องดังกล่าวโดย นางสาวเฉิดฉันทร์ ราชบุรณะ นักเอกสารสนเทศ ห้องสมุดสตางค์ อุดมสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล