UBI RMUTT นำทีมนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขันโครงการ Startup Thailand League 2024
23/06/2024สวพ. มทร.ธัญบุรี นำทีมนักวิจัยหารือแนวทางการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ร่วมกับประมงจังหวัดนครนายก
24/06/2024ในวันที่ 24 มิถุนายน 2567 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี นำโดย รศ.ดร.วรินธร พูลศรี รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา หัวหน้าโครงการวิจัย “ฟื้นฟูสุนทรียะเมืองเก่าศรีมโหสถ รากเหง้าแห่งทวารวดี สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ วัฒนธรรมปราจิณบุรี” ภายใต้กรอบการวิจัยย่อย “มหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่” ประจำปีงบประมาณ 2567 นำทีมคณะผู้จัยจาก 7 คณะ ประกอบด้วย คณะศิลปกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ เทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน และบริหารธุรกิจ ตลอดจนทีมงานจากสถาบันวิจัยและพัฒนา
โดยเฉพาะภาคีเครือข่ายปราจีนบุรีอาทิ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวปราจีนบุรี อดีตนายกสมาคมท่องเที่ยวปราจีนบุรี ประธาน Biz Club ปราจีนบุรี ประธานหอการค้าจังหวัดปราจีนบุรี ประธานบริษัทประชารัฐรักสามัคคีปราจีนบุรี (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด ประธาน Young Entrepreneur Chamber of Commerce (YEC) กลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ หอการค้าจังหวัดปราจีนบุรี สมาพันธ์เอสเอมอีไทยปราจีนบุรี และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปราจีนบุรี ที่มาสะท้อนความต้องการและชี้เป้า Unseen Prachinburi ที่น่าสนใจ เริ่มด้วยหัวหน้าโครงการวิจัย เล่าภาพรวมแผนงานและผลการดำเนินงานในรอบ 3 เดือน และพาคณะผู้ทรงคุณวุฒิจากทีมประสานงานกลาง ประกอบด้วย อาจารย์พนิดา ฐปนางกูร ที่ปรึกษาโครงการ และนักวิจัยทั้ง 2 ท่าน ได้แก่ อาจารย์ ดร.วศิน โกมุท และ อาจารย์ ดร.วรงศ์ นัยวินิจ เชคอินพื้นที่วิจัย ถิ่นอารยธรรมทวารวดีศรีมโหสถ เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการบริหารชุดโครงการจัดการทุนทางวัฒนธรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและสำนึกท้องถิ่น ครั้งที่ 1 ปีงบประมาณ 2567
โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก ภัณฑารักษ์และหัวหน้ากลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี เล่าประวัติศาสตร์ทวารวดี ไฮไลท์สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ขอบสระแก้ว สระน้ำโบราณ 1,500 ปี เมืองมโหสถ และร่วมฟังมัคคุเทศก์น้อยจากโรงเรียนวัดสระข่อย เล่าเรื่องชุมชน ณ วัดต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ จากอินเดียต้นแรก เก่าแก่ที่สุดในไทย ตลอดจนพูดคุยกับปราชญ์ท้องถิ่นไทยพวนปราจีนบุรี ชมการแสดงรำไทยพวนของกลุ่มโฮมสเตย์บ้านดงกระทงยาม เพื่อสืบสานวิถีไทยพวน ณ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวน บ้านดงกระทงยาม
ปิดท้ายด้วยข้อสรุปการลงพื้นที่และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ให้ข้อเสนอแนะ แนวทางการทบทวนโจทย์และออกแบบกระบวนการทำงานร่วมกับชุมชน จากทีมผู้ทรงคุณวุฒิ บพท. เพื่อสร้างประชาคมวัฒนธรรมร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชนปราจีนบุรีได้อย่างต่อเนื่องและแท้จริงสู่เป้าหมายการพัฒนาเมืองปราจีนบุรีให้เป็นมรดกโลกต่อไป
คณะทีมวิจัย มทร.ธัญบุรี ขอขอบพระคุณ ทีมผู้ทรงคุณวุฒิ ทีมประสานงานกลาง ทุนวัฒนธรรม บพท. ภาคีเครือข่ายทุกท่าน ที่ได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารโครงการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างผลกระทบในวงกว้าง